ประเพณีการแข่งเรือยาวจังหวัดพิจิตร
   การแข่งเรือถือเป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี  ในช่วง
ฤดูฝนประมาณต้นเดือน กันยายน ซึ่งประวัติความเป็นมาเล่ากันว่า ในอดีตการปกป้องบ้านเมือง
จากการสู้รบ กำลังพลทางน้ำถือว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าทางบก ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำลังรบทางเรือในลำน้ำ แม่น้ำลำคลอง
ใช้เรือพายเป็นหลัก การรบจะเรือพายเข้ามาชิดเรือข้าศึก และฝีพาย ซึ่งเป็นกำลังรบด้วย
จะทำการเข้าประชิดตัวข้าศึก ทำการรบพุ่งกับข้าศึก 
   ดังนั้นเรือพายจึงเป็นกำลังหลักทางน้ำ ในยามบ้านเมืองสงบปราศจากข้าศึก กองทัพเรือได้
ทำเรือพายมาใช้ในการแข่งขันกีฬา เช่น การเล่นเพลาเรือ พระเพณีพรและประเพณีแข่งเรือ
  การแข่งเรือยาวของหวัดท่าหลวง  เริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณ พระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม)
เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงและเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2450 ได้กำหนดงานจัดงาน
แข่งขันเรือตามกำหนดวัน คือ วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่าน
ลดลงเร็วเกินไปไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และทางวัด
แข่งขันเพียงวันเดียว การแข่งขันเรือยาว ได้จัดนำผ้าห่ม หลวงพ่อเพชร มอบให้เป็นรางวัล
สำหรับเรือยาวที่ชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัลเป็นธง ที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน
ซึ่งท่านใดสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.phichit.go.th
นะครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
เวปมาสเตอร์ : อาจารย์สมศักดิ์ นิติสกุลชัย
ติดต่อ : teachersomsak@gmail.com
   
Free Web Hosting